top of page
IoT คือ
ลองมาเริ่มทำ IoT ด้านการผลิตในประเทศไทยกันดูไหม?
4.0
ในขณะที่ ASEAN ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในฐานะฐานของธุรกิจระดับสากลแห่งใหม่แทนประเทศจีน การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ IoT ในด้านต่างๆ เช่น การทำให้ข้อมูลสถานะ
การทำงานของเครื่องจักรการผลิต หรือผลการทำงานรวมสามารถมองเห็นได้ การป้องกันความผิดพลาด (Poka-Yoke) การสอบกลับ (Traceability) กลายเป็น
งานเร่งด่วนขึ้นมา สำหรับประเทศไทยเองก็มีการตั้งเป้าหมายหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “ไทยแลนด์ 4.0” ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล ในญี่ปุ่นเองก็มีการเคลื่อนไหวในการดำเนินการขอการรับรองมาตรฐาน “IATF 16949 (มาตรฐานข้อกำหนดสากลเกี่ยวกับระบบบริหารงานคุณภาพ ของอุตสาหกรรมยานยนต์)” และการติดตั้งระบบ IoT เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกันมากขึ้น และเป็นที่คาดกันว่ากระแสเหล่านี้ก็คงจะมาถึง ประเทศไทยและ ASEAN ในอนาคตอย่างแน่นอน
ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่เราคงต้องเริ่มคิดเกี่ยวกับการติดตั้ง IoT ด้านการผลิตในประเทศไทยกันตั้งแต่ตอนนี้
สิ่งที่ได้จากการติดตั้ง IoT ด้านการผลิต
สิ่งที่ได ้จากการติดตั้ง IoT ด้านการผลิต
รวบรวมผลลัพธ์
การตรวจสอบย้อนกลับ (Production Traceability)
เมื่อเกิดการเรียกคืนสินค้าจากปัญหาด้านคุณภาพ จำเป็นต้องมีระบบสำหรับ การสืบประวัติว่าสินค้าดังกล่าวมีการผลิตเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร และด้วย วัตถุดิบตัวไหน เพื่อให้สามารถระบุปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ
ทำให้มองเห็นได้
รับทราบสถานการณ์ได้แบบเรียลไทม์ (ตรวจติดตาม)
จากการแสดงผลสถานะและผลลัพธ์การผลิตได้แบบเรียลไทม์หลังจาก มีการปรับให้ข้อมูลดูง่ายขึ้นแล้วนั้น ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์กับผู้ดูแล เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ทางพนักงานหน้างานรับรู้ข้อมูลแผนและผลลัพธ์ การผลิตได้ด้วย
รับรู้ผลลัพธ์การทำงานได้
จากการรับรู้และวิเคราะห์ผลลัพท์การทำงานของเครื่องจักรทำให้ สามารถเพิ่มกำลังการผลิตของเครื่องจักรหรืออัตราการผลิต และ สามารถคำนวณต้นทุนการผลิตได้อย่างถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการรับรู้สถานะการทำงานของเครื่องจักรในหลายๆ ฐานการผลิตทำให้สามารถวางแผนการผลิตและจัดการกับสินค้าเร่ง ด่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าได้
การดักข้อมูลสัญญาณเตือนจากเครื่องจักร และหากเกิดความผิด ปกติขึ้นก็จะส่งข้อมูลไปยังกระบวนการผลิตถัดไป รวมถึงแจ้งไปยัง พนัก งานหน้างานและผู้ดูแลด้วย ทำให้สามารถค้นพบและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ค้นพบและแก้ไขความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยระบบ Andon
(แสดงสัญญาณเตือน)
โรงงานอัจฉริยะ
วิเคราะห์และทำความสะอาดข้อมูลบิ๊กดาต้า
บิ๊กดาต้าที่รวบรวมมาได้นั้นจะสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ไลน์ผลิตที่มี คุณภาพต่ำหรือกระบวนการที่มีสมรรถภาพต่ำ อันนำไปสู่การปรับปรุง คุณภาพและพัฒนากระบวนการทำงานในภาพรวมได้ นอกจากนี้ในข้อมูล ที่รวบรวมมานั้นยังอาจจะมีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือผิดพลาดรวมอยู่ด้วยจึง ต้องดำเนินการ “ทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing)” หรือ การจัดระเบียบข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความแม่นยำถูกต้องยิ่งขึ้น
AI ด้านการผลิต (การทำงานและการควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ)
ใช้ประโยชน์จาก AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการทำตั้งแต่ “รวบรวมข้อมูลจากเครื่องจักร” ไปจนถึง “ทำการควบคุมโดยให้ข้อมูล แก่เครื่องจักร”
สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง IoT ด้านการผลิต
สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง IoT ด้านการผลิต
การถือกำเนิดขึ้นของธุรกิจที่ติดตั้ง IoT ด้านการผลิตและบทบาทหน้าที่ของบริษัทเหล่านั้น
องค์ประกอบที่สำคัญของการติดตั้ง IoT ด้านการผลิต
ลูกค้า
ซอฟต์แวร์ CSI
ผ ู้ผลิตอุปกรณ์
ผู้ผลิตเครื่องจักร
ผู้ติดตั้งเครื่องจักร
ฮาร์ดแวร์
ติดตั้งและให้บริการระบบซอฟต์แวร์ที่เป็น เครื่องมือในก ารวิเคราะห์และทำให้มองเห็น ข้อมูลด้านการผลิตได้สนับสนุนลูกค้าใน ด้านการพัฒนาแพ็คเกจที่หาได้ง่ายในท้องตลาด เฟรมเวิร์ค หรือการพัฒนาระบบ ตามความต้องการ เพื่อให้เข้ากับโซลูชั่นที่
จะติดตั้ง และความต้องการของลูกค้า
ให้บริการเซ็นเซอร์และซีเควนเซอร์แบบยึด กับที่ที่ใช้งานในไลน์ผลิตทั้งไลน์ใหม่และไลน์เดิม ที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังซัพพอร์ต
การสำรวจเครื่องจักรที่ใช้งานอยู่ว่า สามารถดึงข้อมูลออกมาได้หรือไม่
อีกด้วยในฐานะผู้ให้คำปรึกษา
ซัพพอร์ตกรณีที่ต้องให้ผู้ผลิตดำเนินการ เพื่อดึงข้อมูลจากเครื่องจักรที่ใช้ในไลน์ผลิต โดยดำเนินการภายใต้การสนับสนุน
ของลูกค้า
ติดตั้งเครื่องจักรการผลิต (รวมถึงแผงควบคุม) ตามข้อมูลที่ได้จาก ผู้ผลิตเครื่องจักรหรือจากการสำรวจ หน้างานจริง และในบางกรณีก็อาจดำเนิน
การติดตั้งแผงจ่ายไฟและวางสายไฟด้วย
นอกจากจะดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เซิร ์ฟเวอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ในไลน์แล้ว ยังสนับสนุนการพิจารณาและการติดตั้งสาย Lan, จุดเชื่อมต่อ และเรื่องการรักษาความปลอดภัยภายในโรงงาน
Flow until Start of Manufacturing IoT Implementation Project
STEP 01
STEP 02
STEP 03
STEP 04
STEP 05
ปรึกษา
ก่อนอื่นต้องรับฟังความต้องการของลูกค้า แล้วนำเสนอตัวอย่างหรือประวัติ
การทำโปรเจ็คที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
ตรวจสอบหน้างาน
(หลายๆ ครั้ง)
หลังจากตรวจสอบสถานการณ์ ปัจจุบันของลูกค้าอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วจึงเริ่มดำเนินการนำเสนอ โซลูชั่นที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง
อธิบายเอกสารนำเสนอคร่าวๆ
ส่งมอบและอธิบายเอกสารนำเสนอคร่าวๆ ที่สามารถทำให้จินตนาการถึงภาพหลัง การติดตั้งได้ง่าย ตามความต้องการและ สภาพการณ์ของลูกค้าหลังจากที่ทำ การประชุมพูดคุยกันหลายต่อหลายครั้ง ก็จะทำให้ “มองเห็นภาพ” เนื้อหาโซลูชั่นหรือ วิธีการดำเนินโปรเจ็ค และทำให้ทุกฝ่าย มองเห็นภาพสุดท้ายที่ควรจะเป็นได้ตรงกัน
ลูกค้าดำเนินการ
จัด เตรียมภายในบริษัท
ขอให้ลูกค้าดำเนินการจัดตั้งทีมทำโปรเจ็ค และสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการแบ่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ (เราสามารถให้ การซัพพอร์ท ให้คำปรึกษาว่าลูกค้า ควรเริ่มดำเนินการอย่างไรได้ หากสนใจกรุณาติดต่อเรา)
เริ่มโปรเจ็ค
หลังทำสัญญาเสร็จสิ้นก็จะเริ่มโปรเจ็ค การติดตั้ง IoT เราจะพุ่งเป้าไปสู่จุดหมาย ตามความต้องการของลูกค้า ทีละจุดจากการดำเนินการและ การบริหารจัดการที่มั่นคง
ตัวอย่างงานติดตั้งและซัพพอร์ตที่ผ่านมาของ CSI
งานสัมมนาเกี่ยวกับ IoT ด้านการผลิต
งานสัมมนาเกี่ยวกับ IoT ด้านการผลิต
bottom of page