ภัยคุกคามความปลอดภัยที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
การเรียกค่าไถ่โดยใช้ไวรัส "แรนซัมแวร์ (Ransomware)" : ความเสียหายที่โรงพยาบาลสระบุรี
“Ransomeware” เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำว่า “Ransom (ค่าไถ่) และ "Software (ซอฟต์แวร์) เข้าด้วยกัน ไวรัสตัวนี้จะทำให้ไฟล์บนคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ที่ติดไวรัสใช้งานไม่ได้โดยการเข้ารหัส และหลังจากนั้นจะมีการขอ "ค่าไถ่" เพื่อแลกกับการปลดการเข้ารหัสดังกล่าว
ทำไมการรักษาความปลอดภัยด้านไซเบอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็น
เตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูล การหยุดชะงักของการดำเนินกิจการ และการสูญเสียความน่าเชื่อถือ
ในปัจจุบัน การโจมตีทางไซเบอร์นั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ไม่เพียงแค่ในญี่ปุ่นหรือไทยเท่านั้น หากข้อมูลส่วนบุคคลหรือ ข้อมูลลูกค้ารั่วไหล จำนวนเงินชดเชยความเสียหายอาจสูงถึง หลัก 100 ล้าน และหากธุรกิจตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถ ดำเนินการต่อได้เนื่องจากระบบหยุดทำงานก็จะทำให้ การดำเนินธุรกิจของบริษัทเองตกอยู่ในอันตราย ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทหรือองค์กรที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์นั้นจะสูญเสีย ความน่าเชื่อถืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การรักษาความปลอดภัย ทางไซเบอร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันความเสียหายเหล่านี้
มาตรการในการใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทย (PDPA)
การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากภายนอกถือเป็นสาเหตุหนึ่งของการรั่วไหล ของข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมสภาพแวดล้อมสำหรับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ อย่างเหมาะสม อาจกล่าวได้ว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลมีความสำคัญ มากขึ้น ในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยและเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานและลูกค้า
ในปี 2564 จะมีการบังคับใช้ "พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)" ฉบับแรกของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ โดยมีบทลงโทษสำหรับผู้ไม่ ปฏิบัติตาม แม้ว่าก่อนหน้านี้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการ จัดการข้อมูลส่วนบุคคล แต่ "PDPA" ที่จะนำมาใช้นี้ มีพื้นฐานมาจาก "GDPR (EU General Data Protection Regulation)" ซึ่งเมื่อเทียบกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของญี่ปุ่นเอง ก็นับว่าขอบเขตของ ข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองนั้นกว้างขวางและมีการกำหนดกฎระเบียบและบทลงโทษที่เข้มงวดอย่างมาก
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์บนพื้นฐานของ CIS (Center for Internet Security)
องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างบริษัท สถาบันการศึกษา และหน่วยงาน รัฐบาลสหรัฐฯ เช่น National Security Agency (NSA), Defense Information Systems Agency (DISA), National Institute of Standards and Technology (NIST) เป็นต้น
CIS : องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
กรอบมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ควร ทำเป็นอันดับแรก เป็นหนึ่งในหัวข้อที่กำหนดไว้ใน SP800-53 ของ National Institute of Standards and Technology (NIST) ซึ่งเป็นกรอบการทำงาน สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยที่สรุปง่ายๆ โดยเน้นที่ "สิ่งที่ต้องทำในขั้นต่ำเป็นลำดับแรก"
ประเมินภัยคุกคามความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างเป็นกลางเรามีเกณฑ์มาตรฐาน (เกณฑ์การประเมินอย่างเป็นกลาง) หลายอย่างที่มีประโยชน์ในการประเมินภัยคุกคาม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ เกณฑ์มาตรฐานนี้อิง ตามมติของวงการอุตสาหกรรมว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุด
ประเมินโครงสร้างของระบบปฏิบัติการเป็นระยะ ประเมินโครงสร้างของระบบปฏิบัติการของคุณ เป็นระยะโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน CIS และนโยบาย
ความปลอดภัยภายใน
การสนับสนุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการอุดช่องโหว่ของระบบ
ขอบเขตของ CIS Security
CIS Security – ลำดับขั้นตอนการใช้มาตรการและบริการสนับสนุน
Survey (ตรวจสอบ) :
เสนอมาตรการขั้นต่ำที่ควรต้องดำเนินการ
ดำเนินการสำรวจหน้างาน ตรวจสอบปัญหา ของเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ พีซี ฯลฯ ที่มีอยู่ และ เสนอมาตรการขั้นต่ำที่ควรต้องดำเนินการ
Implementation :
สนับสนุนการนำมาตรฐาน CSI มาใช้
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเราจะให้บริการ เพื่อนำการตั้งค่าที่แนะนำโดย CIS ไปใช้กับระบบ ที่อยู่ในขอบเขตเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงกระบวนการ PDCA ที่ดำเนินการ ทั้งในสภาพแวดล้อมสำหรับ ทดสอบและสภาพแวดล้อมการใช้งานจริง นอกจากนี้เรายังสนับสนุนให้สามารถนำ มาตรฐานมาใช้งานได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
Assessment : การประเมิน
โครงสร้างระบบปฏิบัติการเป็นระยะ
เปรียบเทียบโครงสร้างของระบบเป้าหมายกับหัวข้อ คำแนะนำของเกณฑ์มาตรฐานของ CIS และ ประเมินการกำหนดค่าระบบปฏิบัติการเป็นระยะ นอกจากนี้เรายังสามารถให้บริการเครื่องมือ เฉพาะทางของเราเองได้อีกด้วย ซึ่งสามารถระบุ โครงสร้างที่ควรดำเนินการตั้งค่าตามเกณฑ์ มาตรฐาน (เกณฑ์ที่สามารถประเมินภัยคุกคาม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างเป็นกลาง)