สัมภาษณ์ผู้พัฒนา ซีรี่ส์ “Factory-ONE”
ผลงานการติดตั้งระบบให้ลูกค้ากว่า 1,600 แห่ง
พูดคุยกับผู้พัฒนาซีรีส์ระบบควบคุมการผลิต “Factory-One” เกี่ยวกับ “การขยายฐานการติดตั้งในอนาคตของ Factory-One ที่ประเทศไทย”
ซีรีส์ “Factory-One” เป็นระบบควบคุมการผลิตสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีผลงานการติดตั้งให้กับลูกค้านับได้มากกว่า 1,600 แห่งที่ประเทศญี่ปุ่น และยังมี “Factory-One GL” ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นสำหรับต่างประเทศที่กำลังขยายงานการติดตั้งระบบออกไปสู่
ต่างประเทศ โดยมีประเทศไทยและอาเซียนเป็นจุดศูนย์กลาง
ทางเรามีโอกาสพูดคุยกับบริษัท EXcorporation ผู้เล็งเห็นถึงความต้องการของตลาดดังกล่าวที่ขยายตัวขึ้นในประเทศไทย และถือเป็นผู้ให้กำเนิดซีรีส์ “Factory-One” เกี่ยวกับวิสัยทัศน์การดำเนินงานในอนาคตทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงการที่C.S.I.เข้ามามีส่วนร่วม
เป็นพาร์ทเนอร์ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศและการติดตั้งระบบให้ใช้งานได้จริง
“Factory-ONE GL”ระบบควบคุมการผลิตมาตรฐานญี่ปุ่น
“Factory-ONE GL” คือ “Factory-ONE MF” ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานนอกประเทศญี่ปุ่นได้ ระบบดังกล่าวเกิดจากเสียงเรียกร้องของบรรดาธุรกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศและอยากให้มีการนำระบบควบคุมการผลิตที่มีคุณภาพสูงเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาใช้
การกำหนดให้ระบบมีเฉพาะฟังก์ชันที่จำเป็นต่อการใช้งานได้แม้ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นทำให้กำหนดกรอบราคาที่สมเหตุสมผลได้จริง “Factory-ONE GL” จึงเป็นเวอร์ชั่นต่างประเทศของ “Factory-ONE MF” ที่มี Know-How แบบที่แพร่หลายกันในญี่ปุ่น ทั้งยังปรับให้เข้ากับธรรมเนียมปฏิบัติทางธุรกิจแบบไทยได้
แรงจูงใจที่ต้องการขยายฐานการติดตั้งของ “Factory-ONE” มายังประเทศไทย
“Factory-ONE” ขยายฐานการติดตั้งไปสู่ต่างประเทศพร้อมๆกับลูกค้าที่เริ่มเข้ามาเปิดตลาดในไทย
เนื่องจาก “Factory-ONE MF” ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นเพื่อตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ แต่ด้วยการขยายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องของผู้ผลิตดังกล่าวทำให้เกิดเป็นแรงจูงใจในการนำ “Factory-ONE” เข้ามาในประเทศไทย ประเทศไทยมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการทำงาน “Factory-ONE” อยู่แล้ว อีกทั้งโรงงานของลูกค้าเองก็มีความพร้อมทางด้านทักษะสำหรับการติดตั้งและการทำงานของระบบควบคุมการผลิต จึงเป็นที่มาให้เราคิดอยากขยายฐานมาที่ประเทศไทย
ความยากง่ายในการนำระบบควบคุมการผลิตเข้ามาใช้ในประเทศไทย
การปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมและธรรมเนียมทางธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย
ความยากง่ายในด้านฟังก์ชั่น
ในด้านฟังก์ชั่นนั้น เราคิดว่าวัฒนธรรมและธรรมเนียมทางธุรกิจแบบไทย เช่น เรื่อง BOI, ระบบบัญชีพื้นฐานหรือระบบภาษีที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเรื่องยากต่อการทำฟังก์ชั่นพื้นฐาน ในระยะแรกของการวางแผนพัฒนาระบบเวอร์ชั่นต่างประเทศนั้น เราได้รับคำแนะนำต่างๆที่ได้รับมาพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน แม้เราจะไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องธรรมเนียมทางธุรกิจแบบไทยเลยแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้วเราเลือกนำมาเฉพาะฟังก์ชั่นพื้นฐานและร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่เข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่นั้นเป็นอย่างดีมาดำเนินการจนเกิดเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับในประเทศไทย
ความยากง่ายในมุมมองของผู้ใช้งาน
อีกด้านหนึ่งซึ่งเป็นมุมมองฝั่งผู้ใช้งาน เรามองว่าเป็นเรื่องที่ยากมากเช่นกัน ประเด็นคือจะใช้วิธีใดในการประสานวิธีคิด, จุดประสงค์/เป้าหมายให้ผนวกรวมเข้ากับการรับรู้และวัฒนธรรมลงไปในระบบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากจะนำระบบและวิธีการทำงานแบบญี่ปุ่นมาใช้ในบริษัทที่มีทั้งคนญี่ปุ่นและคนไทยทำงานร่วมกัน สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
จุดแข็งของ “Factory-ONE” ในไทยคืออะไร
“Factory-ONE” เวอร์ชั่นต่างประเทศที่ใครๆต่างบอกว่า “เข้าใจง่าย!”
จุดแข็งอันดับ 1 ของ “Factory-ONE GL” คือ การเป็นระบบควบคุมการผลิตสไตล์ญี่ปุ่นที่เข้าใจง่ายและสามารถใช้งานได้ที่ประเทศไทยมีรูปลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจได้ง่าย จึงได้รับเสียงตอบรับที่ดีตอนทำการสาธิตอยู่บ่อยครั้ง เช่น “เข้าใจง่าย!” “นี่แหละ สิ่งที่อยากได้!” เราคิดว่าเป็นเพราะความเป็นมาของซีรี่ส์ที่มีผลงานการติดตั้งมากกว่า 1,600 แห่งที่ประเทศญี่ปุ่นมีส่วนช่วยให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว
บริการแบบเดียวกับญี่ปุ่นในประเทศไทย
การได้ CSI มาเป็นพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยและได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทั้ง 2 ประเทศ ทั้งญี่ปุ่นและไทย รวมถึงตัวโครงการที่มีสมาชิกเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นและชาวไทย จึงทำให้เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่เราสามารถให้บริการได้ไม่ต่างกับที่ประเทศญี่ปุ่น
เหตุผลที่เลือก CSI เป็นพาร์ทเนอร์ในการขยายฐานในไทย
CSI มีประสบการณ์และความชำนาญที่ได้รับความไว้วางใจมาอย่างยาวนาน
เมื่อนำระบบพาร์ทเนอร์มาใช้นอกประเทศญี่ปุ่น ปัญหาที่เรามักพบเจอคือ จะทำอย่างไรให้เราบริการแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นได้ ในขณะที่เรากำลังมองหาบริษัทที่สามารถขยายธุรกิจไปด้วยกันได้อยู่นั้น เราจึงได้เริ่มพูดคุยกับ CSI ในฐานะพาร์ทเนอร์ที่สามารถไว้วางใจได้ มีผลงานการันตีกว่า 20 ปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในระบบควบคุมการผลิตและมีประสบการณ์ในการติดตั้งแพ็คเกจให้กับบริษัทอื่นๆมามากมาย
CSI เป็นกุญแจสำคัญตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ที่ทำให้สามารถขยายฐานมายังต่างประเทศสำเร็จ
ผู้ใช้ระบบของเรานอกประเทศญี่ปุ่นจำนวนมากกว่าครึ่งเป็นผู้ใช้งานในประเทศไทยที่ CSI เป็นผู้ติดตั้งระบบให้ บริษัทที่สามารถจัดการขั้นตอนต่างๆได้ด้วยตัวเองอย่างเบ็ดเสร็จมีน้อยมาก เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นข้อเสนอ, การกำหนดเงื่อนไขสัญญาต่างๆ, ความช่วยเหลือด้านการติดตั้ง, After Support การที่ CSI เป็นบริษัทที่สามารถทำทุกอย่างให้เสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เราไว้วางใจเป็นอย่างมาก CSI เป็นผู้ให้การสนับสนุนการขยายฐานในต่างประเทศของ EXcorporation เป็นอย่างดี
“Factory-ONE GL” มีการปรับปรุงให้เหมาะสมโดยใช้ความคิดเห็นจาก CSI ก่อนปล่อยออกสู่ตลาด
ในตอนที่กำลังพัฒนา [GL R1.0] ซึ่งเป็นรุ่นต่างประเทศ เราได้นำความคิดเห็นและคำแนะนำจากทาง CSI มาปรับให้เหมาะสม เราจึงเพิ่มฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์เข้าไปโดยอ้างอิงจากข้อมูลต่างๆที่ได้รับมา และจนพัฒนามาเป็นรุ่น [GL R2.0] ในเดือนสิงหาคม 2562 เราได้เพิ่มฟังก์ชั่นให้ครอบคลุมเกือบทุกฟังก์ชั่นตามที่ CSI ให้คำแนะนำไว้ CSI จึงเป็นพาร์ทเนอร์ที่สามารถออกความคิดเห็นที่มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตและ EXcorporation เป็นอย่างมาก
วิสัยทัศน์การดำเนินงานในประเทศไทยต่อจากนี้
อยากทำให้ “Factory-ONE” เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้น
Factory-ONE ซีรีส์เป็นชื่อชุดระบบที่ลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นต่างรู้จักอยู่แล้ว แต่ที่ประเทศไทย คำว่า Factory-ONE ยังไม่แพร่หลายมากนัก อีกทั้งในบรรดาบริษัทญี่ปุ่นที่ขยายตลาดมาที่ประเทศไทยบางแห่งยังใช้ Excel เป็นโปรแกรมพื้นฐานในการจัดการปัญหาต่างๆอยู่ และบางบริษัทก็ไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นได้ ดังนั้นประเด็นที่ต้องนำมาขบคิดต่อคือเราจะทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้เหมาะกับบริษัทเหล่านั้นได้อย่างไร
ฟังเสียงจากลูกค้า พัฒนามาเป็น GL R2.0 และเราจะก้าวต่อไป
ผลตอบรับของ “Factory-ONE GL R1.0” ที่มีเพิ่มขึ้นจากจำนวนการใช้งานของลูกค้า ดูเหมือนว่าในระยะแรกที่นำระบบเข้ามาใช้นั้น เราได้รับคำขอให้เพิ่มฟังก์ชั่นการทำงานในแบบอื่นๆเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีลูกค้าที่ผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อขยายตลาดเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น ลูกค้ากลุ่มดังกล่าว ก็ดูเหมือนว่าจะมีขอบข่ายรายละเอียดเนื้องานที่อยากใช้กว้างขึ้น ผลจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการค่อยๆเพิ่มฟังก์ชั่นเข้าไปตามคำแนะนำและเสียงเรียกร้องนั้นทำให้เราได้พัฒนาออกมาเป็น “GL R 2.0” ที่มีจุดเด่นอันดับ 1 คือ “การซัพพอร์ทการผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ” ออกมาในเดือนสิงหาคม ปี 2562 และออก “GL R 2.0” เป็นรุ่นถัดมา จึงกลายเป็นรุ่นที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้นจากการนำเสียงเรียกร้องของลูกค้ามาปรับปรุง
ผลของการดำเนินการตามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจของลูกค้าและการเติบโตของผู้ใช้อาจทำให้เราได้รับคำขอจากลูกค้าในรูปแบบอื่นมากขึ้น เราตั้งใจที่จะรับฟังเสียงของลูกค้าและศึกษาความเป็นไปของโลกยุคปัจจุบัน เพื่อพัฒนาระบบให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป
ความคาดหวังที่มีต่อ CSI นับจากนี้
CSI มีบทบาทสำคัญในประเทศไทยที่มีทั้งพาร์ทเนอร์ซึ่งคอยประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่ผลงานที่ผ่านมาในอดีตเท่านั้น แต่ในอนาคตเราตั้งใจว่าเราอยากจะทำหน้าที่สำคัญๆให้สำเร็จไปด้วยกัน ทั้งเรื่องการขยายฐานที่ไทย อาเซียน และทั่วโลก เพื่อการนั้นเราจะร่วมกันหารือและดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญระหว่างทั้งสองบริษัทกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ผู้ให้ข้อมูล
คุณ Hiromoto Youichi (ผู้จัดการทั่วไปแผนงาน Solution)
คุณ Kando Ryo (ผู้จัดการฝ่ายขายต่างประเทศแผนงาน Solution)
ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมบอกเล่าเรื่องราวที่มีประโยชน์ในครั้งนี้
ต่อจากนี้ไป CSI จะตั้งใจทำงานอย่างสุดความสามารถ และเป็นพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศที่ดีที่สุดสำหรับ Excorporation ต่อไป