ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาตามความต้องการของลูกค้า (Tailor-made Software)
Tailor-made Software หรือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาตามความต้องการของลูกค้า ออกแบบให้เป็นการทำงานเฉพาะด้าน หรือเรียกได้ว่าเป็นการสั่งทำโปรแกรมขึ้นมาเพราะบางบริษัทมีรูปแบบงานที่หลากหลายเป็นแบบเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ได้ จึงต้องทำการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาให้ตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ
เราพัฒนาระบบที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของคุณ
01
เราให้บริการ “โซ ลูชัน” เพื่อแก้ปัญหาโดยพิจารณาปัญหาเฉพาะตามลักษณะการทำงาน/ประเภทธุรกิจจากมุมมองของลูกค้า
02
เรามั่นใจในระบบที่มีคุณภาพสูงและใช้งานได้จริงซึ่งสร้างขึ้นโดยวิศวกรผู้มากประสบการณ์ของเรา นอกจากนี้มาตรฐาน CMMI ยังทำให้กระบวนการพัฒนาระบบน่าเชื่อถือ
03
เราคือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีนักพัฒนามากกว่า 200 คน ซึ่งถือว่าติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศ การพัฒนาระบบของ CSI เราพัฒนาระบบที่เหมาะกับรูปแบบธุรกิจของคุณ
มีประสบการณ์มากมายในด้านการพัฒนาระบบในประเทศไทย
มีการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานสำหรับการพัฒนาระบบ
พัฒนาระบบสำหรับธุรกิจต่างๆ
พนักงานวิศวกรมากประสบการณ์
ค้นหาปัญหาในธุรกิจของคุณและนำเสนอวิธีแก้ปัญหา
พัฒนาระบบที่เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า
(ตัวอย่างการพัฒนาระบบ) สร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบอย่างสมบูรณ์
ประวัติบริษัทลูกค้า
YANMAR CAPITAL (THAILAND) CO., LTD.
Yanmar Capital (Thailand) (ต่อไปจะเรียกว่า YCT) ก่อตั้งที่ไทย ในปี 2552 โดยทำธุรกิจให้กู้สินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร และการก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นต้นมา ทางบริษัทได้นำเสนอสินค้า ที่มีคุณภาพสูง พร้อมทั้งให้บริการด้านการเงินที่ตรงกับความต้องการ ของลูกค้าเสมอมา ทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งลูกค้า และตัวแทนจำหน่าย
การติดตั้งระบบที่ครอบคลุมเบ็ดเสร็จ
YCT ได้ทำการติดตั้งระบบ New Application System (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า NAS) ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งผู้จัดการทั่วไปแผนก
IT System ของ YCT คุณยาสึโนบุได้กล่าวถึงเบื้องหลังการติดตั้งระบบในครั้งนี้ว่า
“ก่อนที่จะทำการติดตั้งระบบ NAS นั้น ที่ YCT มีเพียงระบบที่ควบคุมด้านการจัดการสัญญาเป็นหลัก ซึ่งใช้มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ในส่วนของการรับใบสมัครสินเชื่อจากลูกค้า การพิจารณาสินเชื่อ ไปจนถึงการทำสัญญา นั้นเป็นการทำงานด้วยมือเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีระบบ
การพิจารณาสินเชื่อซึ่งพัฒนาขึ้นเป็นระบบเอกเทศแยกออกมา ต่างหากอีกตัวหนึ่ง ทำให้เกิดประเด็นขึ้นว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถนำมาใช้
ในการทำงานจริงได้อย่างเต็มที่
สำหรับ NAS เองก็มีฟังก์ชันการบันทึกข้อมูลสถานภาพของลูกค้าในตอนที่ทำสัญญาไว้ด้วย เนื่องจากแม้ว่าทาง YCT จะมีการพิจารณาตรวจสอบลูกค้าก่อนการทำสัญญา แต่ก็มีหลายกรณีที่ลูกค้าประสบความลำบากในการชำระเงิน จนทำให้ต้องยกเลิกสัญญากลางคัน
ซึ่งผมคิดว่าในกรณีเช่นนี้หากเราสามารถตรวจสอบสถานภาพของลูกค้าในตอนที่ เริ่มทำสัญญาเปรียบเทียบกับตอนที่ยกเลิกสัญญาได้
ก็จะทำให้สามารถพัฒนาความแม่นยำในการตรวจสอบลูกค้า ในอนาคตได้”
คุณยาสึโนบุที่ปัจจุบันเป็นหัวหน้าแผนก IT System ของ YCT นั้น จริงๆ แล้วเกือบจะไม่มีประสบการณ์เข้าร่วม การทำระบบเลย
การที่เขาสามารถมองเห็นภาพการใช้งานฟังก์ชันของ NAS ได้อย่างเป็นรูปธรรมนั้นเขาบอกว่า “มาจากประสบการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของผม” อย่างไรก็ตาม จากการมีประสบการณ์ในฐานะผู้ใช้งานนี่เอง ที่ทำให้เกิดระบบ NAS ที่เต็มไปด้วยไอเดียแปลกใหม่
ซึ่งทางผู้พัฒนาเองคิดไปไม่ถึง
โครงสร้างภาพรวมของระบบที่ทาง YCT ใช้งานอยู่
คุณสมบัติพิเศษของ NAS
คุณสมบัติพิเศษของ NAS
คุณยาสึโนบุได้กล่าวถึงตลาดประเทศไทยไว้ดังนี้ “เนื่องจากรูปแบบการเกษตรของเมืองไทยมีหลากหลาย ผมคิดว่าสิ่งสำคัญ ก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถนำเสนอวิธีการชำระเงินที่ไม่เป็นภาระหนักเกินไป สำหรับลูกค้าได้ ดังนั้นใน NAS จึงมีฟังก์ชันการวางแผนวิธีชำระเงินที่เหมาะสม สำหรับลูกค้าแต่ละรายโดยจะเสนอวิธีการชำระเงินที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า จากการพิจารณาตั้งแต่เรื่องรายได้ของลูกค้า ภูมิอากาศของประเทศไทย (หน้าฝน/หน้าแล้ง) ภูมิประเทศ ชนิดของผลผลิต จำนวนผลผลิต เป็นต้น สำหรับเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นเรื่อง การจ่ายเงินดาวน์ ถ้าเป็นที่ญี่ปุ่นโดยทั่วไปแล้วลูกค้าจะชำระเงินให้แก่ผู้ผลิต เองโดยตรง แต่ถ้าเป็นประเทศไทย ตัวแทนจำหน่ายจะเป็นผู้รับเงินจากลูกค้า มาชำระให้บริษัทไฟแนนส์อีกต่อหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีระบบที่สามารถควบคุมได้อย่างละเอียดว่าองค์ประกอบที่สำคัญ ในการส่งมอบสินค้าเรียกเก็บเงินดาวน์
เรียกคืนสัญญาตัวจริง และการทำสัญญานั้นได้ถูกดำเนินการไปแล้วเมื่อไหร่” ขอยกตัวอย่างชาวนาที่ปลูกข้าวนาปรัง การเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังนั้น มักจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและช่วงสิ้นสุดฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็น ช่วงที่ชาวนาจะมีรายได้มากที่สุดเช่นกัน ดังนั้น YCT จะบวกเพิ่มจำนวนเงินค่างวดพิเศษเข้าไปในงวดแล้วตั้งจำนวนเงินผ่อนชำระ ในช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีรายรับมากที่สุดนี้ให้มากกว่าเดือนอื่นๆ และในเดือนที่เหลือก็จะทำการเฉลี่ยยอดคงเหลือกระจายไป ให้เท่าๆ กัน แน่นอนว่าในกรณีการปลูกพีชสองครั้งนั้นจะมีการพิจารณาว่าพืชที่ปลูกคืออะไรและปลูกในพื้นที่แบบไหน แล้วจึงเสนอวิธีการชำระเงินที่จะแตกต่างไปจากที่กล่าวไปข้างต้นเช่นกัน และด้วยการทำเช่นนี้ ทำให้วิธีการชำระเงินนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละลูกค้า แต่ YCT ก็มีระบบที่จะนำเสนอและบริหารจัดการวิธีการชำระในรูปแบบดังกล่าวแล้วในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงภายใน YCT
เราได้พูดถึงข้อดีของการติดตั้ง NAS ที่มีต่อตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าไปแล้วในหัวข้อก่อนหน้า แล้วในส่วนภายใน YCT เองล่ะ จะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นไรบ้าง สำหรับเรื่องนี้คุณยาสึโนบุได้กล่าวว่าเกิดผลการทำงานประสานกับระบบขึ้น
“ในยุคการทำงานด้วยกระดาษนั้น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญกับพนักงานที่ยังมีประสบการณ์น้อยอยู่นั้นมีความสามารถ ต่างกันมากและเป็นการยากที่จะลดช่องว่างนั้นลง แต่หลังจากที่มีการทำให้กระบวนการทำงานชัดเจนขึ้นจากการติดตั้ง NAS ก็ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้องานได้อย่างลึกซึ้งขึ้น บวกกับการที่โปรแกรมมีส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) ที่ใช้งานง่าย ทำให้พนักงานที่มีประสบการณ์ไม่มากสามารถทำงานได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็วขึ้นมาก
ซึ่งเรื่องนี้ผมคิดว่ามีประโยชน์อย่างมาก ในตลาดประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องมีอัตราการย้ายงานสูง เนื่องจากยิ่งพนักงานใช้เวลาในการเรียนรู้งานน้อยก็หมายความว่า พวกเขาจะมีเวลาในการทำงานให้แก่บริษัทมากขึ้นด้วย”
จะเห็นได้ว่าประสบการณ์ในฐานะผู้ใช้งานของคุณยาสึโนบุนั้นมีประโยชน์กับ YCT เป็นอย่างมาก
Neural Network
ภายในบริษัท YCT เองปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้อย่างจริงจัง เทคโนโลยีดังกล่าว เรียกกันว่า Neural Network ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ A.I. ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาใช้ ในการจัดระดับธุรกิจ หรือในการคาดการราคาหุ้นกันบ้างแล้ว
สำหรับใน YCT เองนั้น ได้นำเทคนิคนี้เข้ามาใช้ในการพิจารณาใบสมัครเบื้องต้นโดยการจัดทำ กระแสความคิดของระบบบนพื้นฐานของผลลัพธ์ในอดีตทำให้ระบบสามารถเลือกเงื่อนไขได้ เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์และสุดท้ายก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์การพิจารณาที่มีความแม่นยำ อย่างสูงในที่สุด
การจัดระดับนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้ใช้แค่ Neural Network เท่านั้น แต่ยังใช้ Scoring Model ที่มีมาแต่เดิมร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตมีแผนว่าจะเพิ่ม ผลการดำเนินการโดยใช้ Neural Network ให้มากขึ้นและสร้างระบบการจัดระดับ ที่มีความแม่นยำมากขึ้นด้วย
การพัฒนาหลังจากนี้
สุดท้ายนี้ เราได้ถามคุณยาสึโนบุผู้ซึ่งมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ตั้งแต่เข้ามา
รับตำแหน่งในแผนก IT System ในการนำระบบเข้ามาใช้ในการ
ดำเนินการเกี๋ยวกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจของ YCT ในอนาคต
“จากการติดตั้งระบบเก็บหนี้ในครั้งนี้ทำให้เรียกได้ว่าเกิดระบบที่เป็น
แกนหลักขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อไปก็คือ จะทำอย่างไร ที่จะใช้
ระบบเหล่านี้เพื่อรักษาสถานภาพจุดสูงสุดในวงการธุรกิจ เอาไว้ได้
จากนี้ยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องทำอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้
ระบบเพื่อมุ่งไปสู่การแย่งส่วนแบ่งการตลาด ในธุรกิจ การรวบรวม
ข้อมูลลูกค้าที่มีศักยภาพและการบริหารจัดการกลุ่มลูกค้าเป้าหมายการพัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการขาย และการสร้างระบบบริหารจัดการลูกค้าเพื่อเปลี่ยนลูกค้าปัจจุบันให้เป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีกับบริษัทเป็นต้น”
สาส์นจากบรรณาธิการ
หลังจากที่การสัมภาษณ์จบลง คุณยาสึโนบุกับพนักงาน C.S.I. ที่เป็นสมาชิกของโปรเจ็คได้ย้อนเรื่องราวในอดีตให้ฟัง โดยตอนที่ คุณยาสึโนบุเข้ามารับตำแหน่งใน YCT ใหม่ๆ นั้นเป็นช่วงที่โปรเจ็คการพัฒนาระบบหยุดนิ่งแต่ทันทีที่โปรเจ็ค NAS เริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่ง ที่ต้องทำการทบทวนครั้งใหญ่ซึ่งรวมถึงรูปแบบการซัพพอร์ทระบบที่มีอยู่แล้วโดย C.S.I โดยคุณยาสึโนบุได้กล่าวถึงสถานการณ์ ในตอนนั้นดังนี้
“ตัวคอนเซ็ปต์ของระบบเองนั้นใช้บริษัทสินเชื่อหรือบริษัทลีสซิ่งของญี่ปุ่นเป็นโมเดล แต่การสร้างระบบแบบ web based ขึ้นมาใช้ในการดำเนินการนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่ล้ำหน้ากว่าที่ญี่ปุ่นอยู่มาก ดังนั้นนับว่า C.S.I นั้นมีความเป็น มืออาชีพมากเมื่อมองจากมุมที่ว่าเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีพนักงานเป็นคนไทยเป็นส่วนใหญ่แต่ยังสามารถดำเนินการ ในราคาที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ถึงจะจ้างผู้ผลิตซอร์ฟแวร์เจ้าอื่นให้ทำระบบแบบเดียวกันนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าในแง่ ของการบริการหลังการขายนั้น จะทำได้ลื่นไหลเท่าทาง C.S.I หรือไม่ เพราะปกติแล้วจะมีการรายงานประจำเดือนแบบซึ่งหน้าเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ชัดเจน แต่ในกรณีที่มีเรื่องด่วน ทางฝ่ายขายก็จะเข้ามาร่วมทำการปรับแต่งทรัพยากรในโปรเจ็คด้วย ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญนั้นไม่ใช่การพัฒนาระบบแล้วก็จบไป แต่เป็นการให้บริการที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การขายความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือแม้กระทั่งการทบทวนเนื้อหาการทำงาน ภายหลังจากที่เริ่มใช้ ระบบไปแล้วต่างหาก ด้วยความที่ทาง C.S.I ให้ความสำคัญกับเรื่องการสร้างสัมพันธ์แม้ว่าจะทำการส่งมอบระบบไปแล้วก็ตาม เมื่อรวมถึงความสามารถและปริมาณทรัพยากร
รวมถึงการบริการหลังการขาย ทำให้ผมคิดว่าตอนนี้พวกเราต่างก็มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันครับ”
Mr. Yasunobu – General Manager of YCT IT System Division
สุดท้ายนี้ในฐานะบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วต้องขอบคุณความเห็นที่น่าประทับใจของคุณยาสึโนบุเป็นอย่างมาก ต่อจากนี้ก็หวังว่าจะรักษา
ความสัมพันธ์เช่นนี้ไว้ได้ตลอดไป